Last updated: 13 พ.ค. 2568 | 142 จำนวนผู้เข้าชม |
อีพ็อกซี่เรซิ่น คืออะไร??
อีพ็อกซี่เรซิ่นเป็น พอลิเมอร์เทอร์โมเซตติงชนิดหนึ่ง ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสหกรรม เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่น ในการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม มีความต้านทานแรงดึงและแรงอัดสูง รวมถึงทนทานต่อสารเคมีและความร้อน อีพ็อกซีเรซิ่น มีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทได้รับการปรับแต่งสูตรการผลิตมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานเฉพาะด้าน ทำให้เป็นที่ต้องการในอุตสหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ศิลปะและงานฝีมือไปจนถึงการก่อสร้างและวิศวกรรม
อีพ็อกซี่เรซิ่น มาจากไหน??
อีพ็อกซี่เรซิ่นถูกค้นพบครั้งแรกโดย ปิแอร์ คาสทัน นักเคมีชาวสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากที่เขาได้ทำการทดลองปฏิกิริยาระหว่างสารเคมีต่างๆ หลายชนิดในช่วงทศวรรษ 1930 และได้รับการจดสิทธิบัตรในปี 1940 ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น พอล ชแล็ค นักเคมีชาวเยอรมัน ก็ประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์อีพ็อกซีเช่นกัน อีพ็อกซี่เรซิ่น ถูกพัฒนาให้สามารถนำมาใช้เชิงพาณิชย์ครั้งแรกในปีช่วงทศวรรษ 1940-1950 โดยถูกใช้ในอุตสาหกรรมทันตกรรม และ เริ่มต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อากาศยาน การเดินเรือ และยานยนต์ จนปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลายอย่างที่เป็นในทุกวันนี้
อีพ็อกซี่เรซิ่น สังเคราะห์มาได้อย่างไร??
อีพ็อกซี่เรซิ่น เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ปิโตรเลียม โดยส่วนประกอบหลักของอีพ็อกซีเรซิ่นคือ โมโนเมอร์อีพอกไซด์ ซึ่งจะเกิดกระบวนการพอลิเมอไรเซชั่น (Polymerization) เมื่อรวมกับตัวเร่งแข็ง (curing agent หรือ hardener) ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนี้จะสร้างพันธะที่แข็งแรงและทนทาน
โครงสร้างหลักของอีพ็อกซี่เรซินคือสายโซ่อะตอมออกซิเจนที่มีอะตอมคาร์บอนสองอะตอมอยู่ด้านข้างแต่ละด้าน สายโซ่นี้เรียกว่าหมู่ "อีพอกไซด์" (epoxide) หรือ "ออกซิเรน" (oxirane)
อีพ็อกซี่เรซิ่น หากจะแบ่งประเภทตาม โครงสร้างทางเคมี จะสามารถแบ่งได้มากมายหลายประเภท ดังนั้นเราจึงจะขอพูดถึง ประเภทที่เป็นที่นิยมที่สุด และเป็นตัวที่เราใช้งานกันเป็นอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะงานคอมโพสิต หรือ งานเทพื้น งานเคลือบต่างๆ
อีพ็อกซี่เรซิ่นชนิดนี้ เรียกว่า "ไดกลัยซิดิลอีเทอร์ของบิสฟีนอลเอ" (diglycidyl ether of bisphenol A หรือ DGEBA) ถูกสร้างขึ้นโดยการทำปฏิกิริยาระหว่างบิสฟีนอลเอ (Bisphenol A หรือ BPA) กับอิพิคลอโรไฮดริน (Epichlorohydrin หรือ ECH) ซึ่งน้ำหนักโมเลกุลจะถูกควบคุมโดยการปรับอัตราส่วนของ ECH : BPA โดยอัตราส่วนที่สูงจะทำให้ได้น้ำหนักโมเลกุลที่ต่ำกว่า อีกทั้งการปรับอัตราส่วนระหว่าง ECH : BPA ยังส่งผลต่อคุณสมบัติต่างๆ ของอีพ็อกซี่เรซิ่นอีกด้วย เช่น การเพิ่มขึ้นของ BPA จะเพิ่มความแข็งแรงและทนอุณหภูมิสูง ในทางกลับกัน ECH จะเพิ่มความทนทานต่อสารเคมี และหมู่อีพ็อกไซด์จะเพิ่มคุณสมบัติในการยึดเกาะ
เช่นเดียวกับการใช้งาน โพลีเอสเตอร์เรซิ่น อีพ็อกซี่เรซิ่น จำเป็นต้องผ่านกระบวนการโพลีเมอร์ไรซ์เซชั่น (Polymerization) หรือกระบวนการแข็งตัว โดยการเติมสารตัวเร่งแข็ง (curing agent หรือ hardener) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับหมู่ epoxide กระตุ้นให้เกิดพันธะแบบ cross-linking ก่อตัวเป็นโครงข่ายสามมิติ ซึ่งโครงสร้างข่ายงานนี้ทำให้วัสดุมีความแข็งแรงเป็นพิเศษและมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น
ตัวเร่งแข็งที่ใช้คู่กับอีพ็อกซี มีหลากหลายชนิด เช่น โพลีเอมีน (polyamines) แอนไฮไดรด์ (anhydrides) และเมอร์แคปแทน (mercaptans) โดยตัวที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โพลีเอมีน (polyamines) เมื่อเทียบกับการใช้งานโพลีเอสเตอร์เรซิ่น ที่เราต้องเติมตัวเร่งปฏิกิริยาในปริมาณเพียงเล็กน้อย (เช่น 1 – 2% MEKP) แต่อีพ็อกซี่ต้องการสารตัวเร่งแข็งในปริมาณที่สูงกว่ามาก โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนของ Epoxy ต่อสารทำให้แข็งตัวตั้งแต่ 1:1 ถึง 2:1 ขึ้นอยู่กับแต่สูตรของทางผู้ผลิต
คุณสมบัติและลักษณะเฉพาะของอีพ็อกซี่เรซิ่น
การใช้งาน
การเลือกใช้งานอีพ็อกซี่่
ในการเลือกอีพ็อกซี่ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเลือกชนิดหรือประเภทที่เหมาะสมกับการใช้งาน ควรเลือกเป็นสูตรเฉพาะสำหรับการใช้งานประเภทนั้นๆ เช่น ใช้ในการเคลือบพื้นผิว หรือ สำหรับผลิตชิ้นงานคอมโพสิต นอกจากนี้แต่ละสูตรยังมีระยะเวลาการ Cure และวิธีการ Cure ที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้ว ระยะเวลาการ Cure ของ Epoxy จะยาวนานกว่าเรซิ่นโพลีเอสเตอร์ และบางสูตรอาจต้องใช้ความร้อนในการ Cure บางสูตรสามารถ Cure ได้ที่อุณหภูมิห้อง หรือบางสูตรอาจจะเป็น UV Cure ดังนั้น จึงควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ร่วมด้วย เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และได้ชิ้นงานที่คุณภาพสูงดีที่สุด
References
https://www.xometry.com/resources/materials/what-is-epoxy/
https://www.sakshichemsciences.com/benefits-of-using-epoxy-resins/
https://ressichem.com/blog/types-of-resin-and-their-uses
https://uk.rs-online.com/web/content/discovery/ideas-and-advice/epoxy-resin-guide
https://www.fibreglast.com/blogs/learning-center/about-resins
https://chemistrytalk.org/epoxide-functional-group/
https://www.sciencedirect.com/topics/chemistry/epichlorohydrin
https://www.sciencedirect.com/topics/physics-and-astronomy/epoxy-resin
14 ส.ค. 2563
14 ส.ค. 2563
14 ส.ค. 2563
14 ส.ค. 2563