ภาพที่ 1. และ 2 หลังจากเตรียมผิวโมลด์ให้สะอาดและขัดให้มันวาวด้วยขี้ผึ้งถอดแบบหรือน้ำยาถอดแบบตามปรกติถ้าต้องการให้มีชั้นผิวเจลโค๊ทให้เริ่มทาหรือสปรย์เจอโค๊ทเป็นชั้นแรกเหมือนขั้นตอนการทำชิ้นงานแบบ Hand-layup ทั่วไป รอให้เจลโค๊ทเริ่มแห้งซัก 1 ซมเป็นอย่างน้อยแล้วเริ่มวางใยแก้วเป็นชั้นๆ ตามกำหนด ในแต่ละชั้นที่วางให้พ่นสเปรย์กาวเพื่อไม่ให้แต่ละชั้นเลื่อนตัว
1
2.jpg)
ภาพที่ 3 และ 4 ในกรณีที่ต้องการให้มีชิ้นวัสดุเสริมความหนาเช่นโฟม บัลซ่า หรือ แผ่นรังผึ้ง ให้วางไว้ตามลำดับชั้นที่ออกแบบไว้ ทั้งใยแก้วและวัสดุเสริมแรงอื่นๆที่จะใช้นั้นให้คำนึงถึงการไหลของเรซิ่นด้วย เช่นใยแก้วประเภท CSM จะให้เรซิ่นไหลผ่านได้ช้า ส่วน Biaxial จะให้เรซิ่นไหลผ่านได้เร็วกว่า และ Unidirectional ที่วางเส้นใยตามการไหลของเรซิ่นจะให้เรซิ่นไหลผ่านได้เร็วที่สุด วัสดุเสริมแรงประเภทโฟมและไม้บัลซ่าจะมีการเซาะร่องไว้ที่พื้นผิวเพื่อช่วยให้เรซิ่นไหลผ่านไปได้ดีด้วย เพราะตัววัสดุเองนั้นเรซิ่นไหลผ่านไม่ได้
3
4.jpg)
ภาพที่ 5 - 8 เมื่อวางใยแก้วทับวัสดุเสริมความหนาแล้ว ให้รีดขอบสันให้เรียบร้อย ให้มีช่องว่างตามขอบน้อยที่สุดเพื่อกันไม่ให้เกิดเป็นแอ่งเรซิ่น (จะไม่มีใยแก้วอยู่ตรงนั้น) ซึ่งเป็นจุดอ่อนของชิ้นงาน โดยต้องทำอย่างนี้ในทุกๆชั้นของใยแก้วที่วางทับลงไป
5
6.jpg)
7
8.jpg)
ภาพที่ 9 และ 10 หลังจากที่ปูวัสดุเสริมแรงทั้งใยแก้วและวัสดุเสริมความหนาไม่ว่าจะเป็นโฟม ไม้บัลซ่า หรือ แผ่นรังผึ้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ปูทับด้วยผ้าไนลอนที่เรียกว่า Peelply ก่อนปูให้ฉีด สเปรย์กาวกันไม่ให้ Peelply เคลื่อนตัว กะขนาดของ Peelply ให้คลุมพื้นที่ที่จะเป็นชิ้นงานทั้งหมดเพื่อเป็นชั้นกั้นไม่ให้ชิ้นงานไปติดกับอุปกรณ์ท่อและ Vacuum Bag ตอนที่เรซิ่นแข็งตัวแล้ว
9
10
ภาพที่ 11 และ 12 ทำการตัดขอบวัสดุต่างๆที่ยาวมากจนเกินไปออก เพื่อให้มีที่ว่างตามขอบโมลด์ (ปีกโมลด์) ไว้ติด Sticky tape สำหรับซีล Vacuum bag คลุมโมลด์
11
12.jpg)
อ่านต่อ...ตอนที่ 4