การผลิตแผ่นรังผึ้งระดับอุตสาหกรรมเริ่มต้นเมื่อประมาณช่วงปี 1940 จริงๆ แล้วแผ่นรังผี้งสามารถทำขึ้นมาได้จากวัสดุแทบทุกชนิดที่เป็นแผ่นแบน ในปัจจุบันเราจะแยกชนิดของแผ่นรังผึ้งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือประเภทโลหะ และประเภทอโลหะ
กลุ่มโลหะประกอบไปด้วยวัสดุประเภท อลูมิเนียม เหล็กสตนเลส หรือ ไทเทเนียม ที่พบเห็นกันบ่อยๆก็มีอลูมิเนียมตั้งแต่เกรด 3003, 5052, 5056 จนถึง 2024 3003นั้นจะใช้ทำรังผึ้งเกรดทั่วไป 5050 กับ 5056 จะใช้ทำเกรดพิเศษขึ้นมา ส่วน 2024 ใช้ทำแผ่นรังผึ้งที่ต้องการการทนความร้อนสูง (216 c)
ในขณะที่แผ่นรังผึ้งอโลหะจะประกอบไปด้วยวัสดุประเภท ไฟเบอร์กลาส, กระดาษ Nomex, หรือ กระดาษคราฟท์ กระดาษ Nomex นั้นนิยมมาทำเป็นแผ่นรังผึ้งเนื่องจากราคาที่ถูกกว่า แต่ก็ให้ความแข็งแรงที่ต่ำกว่าเช่นกันและยังมีปัญหาเรื่องการติดไฟด้วย ไฟเบอร์กลาสหรือผ้าใยแก้วที่มีขนาดบางๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบทอลายตรง (plain weave) หรือลายเฉียง + - 45 องศา (Biaxial) ก็เอามาทำแผ่นรังผึ้งที่ต้องการความเบาและมีขนาด cell เล็กๆ โดยแผ่นรังผึ้งไฟเบอร์กลาสที่ทำจากผ้าใยแก้วลายเฉียงจะทนแรงเฉือนได้ดีกว่า แต่จะทนแรงกดได้น้อยกว่าแบบที่ทำจากผ้าใยแก้วลายตรง ส่วนกระดาษคราฟท์นั้นต้องผ่านการทรีตเมนท์ด้วยสารประกอบเกลือให้ทนไฟจนกระทั้งผ่านมาตฐาน UL ก่อนถึงจะนำมาใช้ได้
นอกจากนี้ยังมีวัสดุอื่นๆที่ใช้ทำแผ่นรังผึ้งอยู่บ้างเหมือนกันแม้จะมีจำนวนน้อย เช่น ทองแดง ตะกั่ว อเบสทอส ไมล่าร์ หรือ เคฟลาร์ รวมไปถึงวัสดุใหม่ๆอย่างคาร์บอนไฟเบอร์ด้วย
กระบวนการผลิต
แบ่งเป็นสองวิธีตามการขึ้นรูปแผ่นรังผึ้ง
วิธีที่หนึ่งโดยการดึงขยาย วิธีนี้เริ่มจากการนำม้วนวัสดุเช่นม้วนอลูมิเนียม ม้วนพลาสติด หรือม้วนกระดาษ มาตัดเป็นแผ่น แล้วทากาวแต่ละแผ่นเป็นแถบเว้นแถบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยให้แถบกาวด้านหน้าและด้านหลังเว้นสลับกัน (ดูรูปที่ 1 ประกอบ) แล้วนำแผ่นวัสดุเหล่านี้มาเรียกช้อนกันให้กาวยึดติดแผ่นต่อแผ่นภายใต้แรงกด ก็จะได้ตั้งวัสดุที่เรียกว่า expansion block เมื่อกาวแห้งดีแล้วบล็อกดังกล่าวจะถูกนำมาตัดสไลด์ให้ได้ความความหนาของแผ่นรังผึ้งที่ต้องการ เช่นถ้าต้องการผลิตแผ่นรังผึ้งที่ความหนา 10 มม ก็จะนำ block มาสไลด์เป็นแถบๆ แต่ละแถบกว้าง 10 มม หลังจากนั้นก็นำมาจับให้ยืดออกทางแนวตั้ง ส่วนที่ไม่มีกาวก็จะถูกดึงยืดออกเป็นผนังของ cell ได้เป็นแผ่นรังผึ้งตามความหนาที่ต้องการ
|